คณะเทคโนโลยีการเกษตร สจล.

ปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ
แนวทางการดำเนินงานของคณะเทคโนโลยีการเกษตรนั้น ใช้ประกาศนโยบายบริหารงานคณะเทคโนโลยีการเกษตร
ที่นำเสนอสภาสถาบัน เมื่อวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2563 เป็นแนวทางการดำเนินงาน
นอกเเหนือจากการปฏิบัติงานเพื่อสนองนโยบายของสถาบันตาม OKR ที่ได้รับมอบหมาย
วิสัยทัศน์ของหน่วยงาน
“ผู้นำด้านการเรียนรู้และแก้ปัญหา ด้านการเกษตรของประเทศ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม”

เป้าหมายสำคัญของหน่วยงาน
ด้านหลักสูตรประกอบด้วย
1. ปรับปรุงหลักสูตร เพื่อตอบโจทย์การประกอบอาชีพเกษตรที่รองรับการเปลี่ยนแปลง
ของเทคโนโลยีและสร้างหลักสูตรใหม่จากการร่วมมือจากหลายๆ ภาคส่วนทั้งในและต่างคณะ (AI ร่วมกับ Big data)
ที่เน้นให้ผู้เรียนมีทักษะการปฏิบัติจากการลงมือทำจริง ร่วมกับชุมชน หรือสถานประกอบการ
2. การพัฒนาบัณฑิตต่อเนื่อง โดยการเปิดหลักสูตรระยะสั้น เพื่อ Reskill upskill และ Multi-skill:
สร้างหลักสูตรแบบ Non-degree ที่ส่งเสริมให้มีการจัดการสอนที่เน้นให้ทำได้จริง เช่น เกษตรภูมิทัศน์ การปลูกผัก
แบบไฮโดรโปนิกส์ การปลูกผักออกานิคส์ หรือ Smart farm และเกษตรแม่นยำ รวมทั้งจัดทำหลักสูตรอบรมระยะสั้น (Credit bank) เพื่อให้เกิดอาขีพใหม่ของผู้เข้าศึกษา
3. พัฒนาหลักสูตรออนไลน์ที่สามารถใช้ได้ทั้งผู้ที่เรียนในระบบและผู้สนใจภายนอก เช่น เกษตรทฤษฎีใหม่ประยุกต์ สร้างเกษตรกรที่ประกอบกิจการเพื่อสังคม (Social Enterprise: SE)
4. สร้างหลักสูตรนานาชาติที่เกี่ยวกับศาสตร์พระราชาและเศรษฐกิจแบบพอเพียงที่เน้นการได้ลงมือปฏิบัติจริง
ด้านนักศึกษาประกอบด้วย
1. ส่งเสริมกิจกรรมที่สนับสนุนอัตลักษณ์ของบัณฑิตที่สำเร็จจากคณะเทคโนโลยีการเกษตรที่ต้องมีทักษณะตามอัตลักษณ์สถาบัน “ซื่อสัตย์ ใฝ่รู้ สู้งาน” และมีจิตอาสา
2. ส่งเสริมการสร้างความร่วมมือทางวิชาการทั้งภายในและต่างประเทศ เพื่อพัฒนานักศึกษา
ด้านห้องเรียนและอื่นๆ
1. ปรับปรุงและพัฒนาห้องเรียน และห้องปฏิบัติการ พร้อมอุปกรณ์ประกอบห้อง
2. ปรับปรุงและพัฒนาแปลงทดลอง โรงเรือนให้เหมาะสมและทันสมัยต่อการเรียนการสอน
3. เพิ่มพื้นที่เพื่อการเรียนรู้ร่วมกัน (Co-working spaces) ให้กับนักศึกษา
4. ปรับปรุงและพัฒนาหรือจัดสร้างอาคารนวัตกรรมการผลิตสินค้าเกษตรด้วยเทคโนโลยีขั้นสูง
เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการปฏิบัติจริง
1. ส่งเสริมการวิจัยที่เน้นการสร้างเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือสิ่งประดิษฐ์ที่ใช้ได้จริงทั้งภายในและนอกองค์กร โดยตอบโจทย์พื้นที่และสามารถแก้ปัญหาประเทศชาติได้
2. ส่งเสริมงานวิจัยที่สร้างบุคลากรทางด้านการเกษตรและการคิดค้นเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อการพัฒนางานทางด้านการเกษตรของประเทศไทย
3. ส่งเสริมงานวิจัยที่เน้นการบูรณาการข้ามศาสตร์ทั้งภายในและนอกคณะ รวมทั้งนอกสถาบันและต่างประเทศ
4. ส่งเสริมและพัฒนาด้านการวิจัยของคณาจารย์รุ่นใหม่ร่วมกับนักวิจัยพี่เลี้ยง
1. ส่งเสริมให้คณาจารย์ นักวิจัยและวิชาการของคณะฯ แปลงองค์ความรู้จากงานวิจัยสู่การบริการวิชาการ
2. ส่งเสริมกิจกรรมการฝึกอบรมต่างๆ เพื่อต่อยอดและสร้างความมั่นคงทางการเกษตรให้แก่บุคคลทุกช่วงวัย
3. ส่งเสริมการบริการวิชาการเพื่อหารายได้ โดยการสร้างห้องปฏิบัติการเพื่อรับรองสินค้าเกษตร Organic Thailand
1. สืบทอดประเพณีและวัฒนธรรมของคณะฯ
2. ส่งเสริมโครงการที่เกี่ยวข้องกับงานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนานักศึกษา
3. ส่งเสริมให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมทั้งในและนอกสถาบัน
ด้านการบริหารจัดการองค์กร ประกอบด้วย
1. บริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล มีความโปร่งใส และการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วนในคณะฯ ศิษย์เก่าและนักศึกษาปัจจุบัน
2. บริหารงานให้มีความคล่องตัว และใช้ระบบ e-office ทุกส่วนงาน เพื่อให้สอดคล้องกับสถาบันฯ
3. สร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
4. การปรับปรุงและพัฒนาระบบต่างๆ เพื่อการติดตาม ตรวจสอบ และประหยัดพลังงาน
5. ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของคณะ เพื่อสร้างความสุขในการทำงาน
6. ส่งเสริมการผลิตสื่อและการประชาสัมพันธ์ เพื่อเผยแพร่ผลงานของบุคลากร
ด้านทรัพยากรบุคคล ประกอบด้วย
1. ส่งเสริมและสนับสนุนบุคลากรสายวิชาการให้เพิ่มคุณวุฒิหรือตำแหน่งทางวิชาการ
2. ส่งเสริมความสามารถในการจัดการเรียนการสอนแบบสมัยใหม่
3. ส่งเสริมและสนับสนุนสายวิชาการให้มีความเชี่ยวชาญด้านอื่นๆ ที่ไม่ใช้ผลงานตีพิมพ์ เพื่อใช้เป็นตัวชี้วัดในการทำงาน (การเป็นอาจารย์ที่ปรึกษาในการแข่งขัน /ประกวดต่างๆ การจัดฝึกอบรมเพื่อหารายได้ หรือ
การเป็นที่ปรึกษาองค์กรภายนอก หรือการส่งเสริมให้นักศึกษาเข้าร่วมปฏิบัติงานจริงกับภาคอุตสาหกรรม)
4. ส่งเสริมและสนับสนุนสายสนับสนุนวิชาการ ให้ได้รับการฝึกอบรมต่างๆ เพื่อการพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่องหรือสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น
ด้านการประกันคุณภาพและบริหารความเสี่ยง
1. พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อใช้ในการประกันคุณภาพ การพัฒนาหลักสูตร และการบริหารงานคณะฯ
2. ประเมินความเสี่ยงและติดตามความเสี่ยงด้วยระบบของสถาบันฯ
ด้านการหารายได้
1. พัฒนาและปรับปรุงพื้นที่ของคณะฯ เพื่อการหารายได้
2. สร้างกิจกรรมหารายได้จากงานบริการวิชาการและจำหน่ายผลิตภัณฑ์
1. การสร้างเครื่อข่ายจิตอาสาเพื่อการพัฒนานักศึกษา
2. การส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรของคณะฯ มีความเป็นจิตอาสา
1. การจัดทำ E-learning เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอน หารายได้
2. การจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตร (คลิป/วิดิโอ และอื่นๆ)
3. การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงานของบุคลากรในคณะ
4. พัฒนาพื้นที่จัดแสดงผลงานที่สร้างชื่อเสียงของคณะเทคโนโลยีการเกษตร
